วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

cpu multi-core

ข้อมูลและลักษณะทั่วไปของซีพียู Multi-Core

                      แต่ก่อน CPU เป็นลักษณะของชิป(chip) ที่ภายในมีหน่วยประมวลผลอยู่หน่วยเดียวต่อมาความต้องการความสามารถในการประมวลผลมีมากขึ้นก็เริ่มมีการพัฒนาความเร็วของซีพียู (CPU) ให้มากขึ้นไปเรื่อยๆให้พอต่อความต้องการ เมื่อความเร็วนั้นพัฒนาขึ้นมากจนยากที่จะทำต่อไปได้จึงมีการนำ CPU มาใช้เทคนิคให้สามารถประมวลผลได้มากขึ้น เราเรียกว่าไฮเปอร์เทรดดิ้ง(Hyper-Threading) การทำงานแบบไฮเปอร์เทรดดิ้ง ยังมีข้อเสียหลายประการและเทคโนโลยีซีพียู จึงพัฒนามาสู่ยุคของซีพียูแบบหลายหน่วยประมวลผลหรือที่เรียกว่า (core) ซึ่งทำให้การพัฒนาสมรรถนของซีพียูเป็นไปอย่างก้าวกระโดด


 ภาพของซีพียูแบบดูอัลคอร์


ข้อดี

1.  การดีไซน์ซีพียูแบบมัลติคอร์ทำให้แคชของแต่ละคอร์ออกแบบมาให้แคบอยู่ใกล้กันกับซีพียูทำให้สัญญาณที่สิ่งระหว่างแคชไปที่ซีพียูนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว
2.  ในแต่ละที่ประกอบไปด้วยซีพียูและแคชนั้นอยู่ใกล้กันมากดังนั้นจึงมีการเพิ่มเทคโนโลยีที่ชื่อว่า  Cache coherency ซึ่งเป็นการทำให้ข้อมูลในแต่ละแคชนั้นเข้าถึงกันได้ สามารถแบ่งงานกันโหลดได้ระหว่างหน่วยประมวลผล
3.  เนื่องจากมัลติคอร์ใช้พื้นที่ของแผงวงจรน้อยกว่า  ทำให้มีสมรรถนะสูงกว่า ขณะที่อัตราการใช้พลังงานยังคงอยู่ในระดับเดียวกันเมื่อเทียบกับซีพียูแบบเดิม  นอกจากนั้น ระบบจัดการความร้อนที่เล็กลงทำให้ใช้ไฟน้อยลงด้วย  จึงช่วยประหยัดพลังงาน แต่ความร้อนกลับน้อยลง เพราะมัลติคอร์ ไม่ได้ใช้งานทุกคอร์ตลอดเวลา
4.  ราคาลดต่ำลงมาเรื่อยๆ  จนในตอนนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใหม่ๆก็เริ่มทยอยกันใช้ซีพียูแบบดูอัลคอร์กันหมดแล้ว            ภายใน Chip CPU  นั้นมีหน่วยประมวลผลย่อย  ที่เราเรียกว่าคอร์มากกว่า  แต่ละคอร์มีหน่วยความจำหลักเป็นของตัวเอง  เรียกว่าแคชระดับที่1 หรือ  L1(Cache L1)แต่ละแกนอาจจะมีการใช้หน่วยความจำร่วมกันเรียกว่าแคช L2   การเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ภายในแคช L1  นั้นสามารถทำได้รวดเร็วกว่าการเข้าถึง แคช L2  หรือการเข้าถึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก  แต่การออกแบบโครงสร้างซีพียูนั้น  จะต้องมีส่วนที่ทำงานร่วมกันได้ด้วย  เพื่อที่จะทำให้สามารถประมวลผลร่วมกันได้ซึ่งส่วนที่จะทำงานร่วมกันก็คือแคช L2 นั่นเอง
รูปที่ 6  ภาพแสดงโครงสร้างของ  Cache coherency
(http://en.wikipedia.org/wiki/Multi-core, 2007)

ความแตกต่าง


Dualcore กับ core2duo คือ cpu dualcore ที่คล้ายๆกัน จะต่างกันก็เรื่องการผลิตและเทคโนโลยีภายในcpu รวมไปถึงbus cpu , cache memory,การใฃ้พลังงานของcpu และอื่นๆ quad core ก็คือcpuที่มี4coreใน1ตัว ซึ่งได้เปรียบไนแง่การประมวลผลแบบmultitask รวมทั้งcachememoryที่มากกว่า ทำให้สามารถประมวลผลได้รวดเร็วและได้จำนวนมากๆในเวลาอันสั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น